กลุ่มที่ 2
แนวคิดของนักทฏษฎี
Chomsky
นักจิตวิทยาด้านภาษาได้ศึกษา เด็กต้องมีแรงจูงใจในการสื่อสาร
เพียเจต์
เด็กต้องมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติโดยผ่านการเล่นและกิจกรรมต่างๆ
จอห์น ดิวอี้
เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
ไวก๊อตสกี้
เด็กเกิดการเรียนรู้จากตนเอง ผ่านบุคคลและสภาพแวดล้อม ผ่านสัญลักษณ์และกิจกรรม
กลุ่ม 3
พัฒนาการทางสติปัญญา
อายุแรกเกิด - 2 ปี- ลูกจะใจจดจ่อกับใบหน้าของพ่อแม่ ลูกจะจดจำใบหน้าของพ่อแม่
อายุ 4 สัปดาห์- เมื่อยืนหน้าใกล้ทารกจะเห็นหน้าทารก เด็กจะพยายามเลียนแบบ
อายุ 6 สัปดาห์- จะยิ้มไล่หลังพ่อแม่ และมองตามของเล่นไปมา
อายุ 8 สัปดาห์- ถือของเล่นที่มีสีสันสดใส เด็กจะสนใจ
อายุ 3 เดือน- มองของเล่นที่แขวนอยู่ เด็กจะรู้จักการสังเกตมากขึ้น
อายุ 4 เดือน- จะแสดงความตื่นเต้นออกเมื่อเด็กมีอารมณ์ต่างๆ
อายุ 5 เดือน- เด็กจะแสดงพฤติกรรมมากขึ้น
อายุ 6 เดือน- จะสนใจกระจกเงา เริ่มชอบอาหารที่พ่อแม่ให้กิน
อายุ 8 เดือน- รู้จักชื่อของตนเอง รู้จักคำว่า "ไม่"
อายุ 9 เดือน- แสดงความปรารถนามากขึ้น เริ่มสนใจสิ่งต่างๆมากขึ้น
อายุ 10 เดือน- ตบมือ โบกมือได้
อายุ 11 เดือน- รู้จักเกมง่ายๆ วางของตรงตำแหน่ง
อายุ 12 เดือน- ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ผู้ใหญ่หัวเราะ ชอบอ่านหนังสือ
อายุ 15 เดือน- เริ่มแสดงว่าทำอะไรได้เองแล้ว
อายุ 21 เดือน- เด็กจะสนใจแล้วให้พ่อแม่ไปดู
อายุ 2 ปี- เล่นอะไรคนเดียวได้แล้ว
จากการดูบรรยายวีดีโอ
เด็กอายุ 1 เดือน
เด็กจะเริ่มมองหน้าแม่ เริ่มรู้รสสัมผัสต่างๆ แม่ต้องอุ้มลูกบ่อยๆ ยิ้มแย้มสบตาบ่อยๆ ให้กินนมแม่อย่างเดียว ให้ลูกสัมผัสกับแม่มากที่สุด
เด็กอายุ 2 เดือน
เริ่มคุยอ้อแอ้ เรียนรู้เสียงต่างๆ มองตามเสียงต่างๆ ดีใจเมื่อได้กินนม ใช้ของเล่นสีสดใสให้ลูกมองตาม แขวนออกจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอก พ่อแม่ควรทำเสียงต่างๆ ให้ลูกมองตาม ลูกเริ่มชันคอได้แล้ว อาจเปลี่ยนให้ลูกนอนบนที่นอนนุ่มๆ ให้ดื่มนมแม่อย่างเดียว
เด็กอายุ 3 เดือน
เริ่มชันคอได้ตรง เริ่มโต้ตอบได้แล้ว บริเวณที่นอนควรเป็นที่ถ่ายเทได้สะดวก พ่อแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าลูกยังไม่สบตา ไม่นอนคว่ำ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ควรสื่อสารกับลูกบ่อยๆ
กลุ่ม 4
พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4ปี
จากการดูบรรยายวีดีโอ
พัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ควรส่งเสริมไปเรื่อยๆ ตามพัฒนาการของเด็ก เช่นทางด้านภาษาจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าจะมีความสนใจโต้ตอบกัน
กลุ่ม 5
จากการดูบรรยายวีดีโอ
อายุ 4-6 ปี
จะเป็นช่วงที่มีพัฒนาการมากขึ้น เด็กสามารถบอกชื่อตนเองได้จะถามว่า "ทำไม อะไร" เข้าใจได้ง่าย เด็กมักจะสนใจคำพูดของผู้ใหญ่มากขึ้น เด็กจะอายเมื่อมีคนมาสัมภาษณ์หรือสอบถาม จะทำพฤติกรรมตามผู้ใหญ่เมื่อเด็กมีความสนใจสิ่งนั้น
กลุ่ม 6
แนวคิดนักจิตวิทยาการเรียนรู้
1.การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์และทำให้บุคคลเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะ ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ และมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทั้งทางปริมาณและคุณภาพ
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1.แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3.การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
การนำความรู้ไปใช้
1.ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
2.พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
3.ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
4.ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
5.พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
กลุ่ม 7
วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
จากการดูบรรยายวีดีโอ
การเล่นและการเข้าร่วมสังคมของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจะเป็นการที่เด็กพยายามช่วยเหลือตนเอง การเรียนรู้เกิดจากการเล่นจะช่วยพัฒนาการของเด็ก เด็กจะเริ่มจับกลุ่มอายุ 2-3 ปี มากที่สุด เด็กจะช่วยเหลือตนเองมากขึ้น การเรียนรู้มาจากสัมผัสทั้ง 5
กลุ่ม 8
องค์ประกอบของภาษา
จากการดูบรรยายวีดีโอ
ประกอบด้วยเสียง >>> การอ่าน > ลักษณะการอ่าน
ระบบเสียง > ตัวอักษร
ไวยากรณ์ > คำ
> ประโยค
ความหมาย > ศัพท์
> ประโยค
เสียง"เฮะ" เสียงที่เด็กจะรู้เปียกชื้น เหนียวตัว เด็กจะรู้สึกไม่สบายตัว
เสียง"แม่" จะมักเป็นคำแรกที่เด็กพูดได้
การสอนพูด เด็กจะพยายามพูดตามที่ผู้ใหญ่พูดและจะพยายามทำให้เหมือนมากที่่สุด
กลุ่ม 10
จากการดูบรรยายวีดีโอ
หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
ภาษาและธรรมชาติ Whole Language
การสอนภาษาของเด็กอนุบาล เด็กแรกเกิดจะเน้นทำไวยากรณ์ต่อให้ฝึกเด็กก็ยังอ่านไม่ออก ควรหาการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก เด็กจะเน้นจำความหมาย การสอนแบบธรรมชาติไม่ไใช่การสอนๆ จะสอนเรื่องต่างๆรวมไปด้วย เด็กจะต้องเรียนภาษาที่มีความหมายกับตัวเด็ก ภาษาไม่ว่าจะเป็นทักษะอะไรเด็กควรนำไปใช้ได้ อย่าคาดหวังว่าเด็กจะเรียนรู้เหมือนกันหมดทุกคน เป็นความคาดหวังที่ไม่ถูกต้อง เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ควรจัดกิจกรรมที่บูรณาการทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
การอ่านที่หลากหลายเป็นสิ่งจำเป็น การอ่านมี 3 รูปแบบ
1.การอ่านแบบอิสระ
2.การอ่านร่วมกัน
3.การยอมรับในสิ่งที่เด็กทำ
ให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ครูควรเข้าใจพัฒนาการของเด็ก การเขียนของเด็กอนุบาลไม่ใช่การเขียนของเด็กประถมศึกษา อย่าคาดหวังกับเด็ก ภาษาของเด็กไม่จำกัดขอบเขต ครูไม่ควรไปดุด่าว่าเด็กว่าถูกหรือผิด
นำไปใช้ประโยชน์
สิ่งที่นำไปใช้คือการสอดแสรกเนื้อหาในชีวิตปัจจุบันกับภาษาที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเพื่อให้เด็กเข้าใจอย่างถูกต้อง